วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

*_* ประเภทของสื่อการเรียนรู้ (สื่อเทคโนโลยี) *_*



คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI)

เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้


Hypertext เป็นการจัดการหน่วยสารสนเทศในการติดต่อ ที่ผู้ใช้เลือกสำหรับสร้าง โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับการเชื่อม (Link ) หรือ hypertext link
hypertext เป็นแนวคิดหลักในการนำไปสู่การคิดค้น World Wide Web ซึ่งไม่มีอะไรมากกว่าสารสนเทศ จำนวนมหาศาล ที่เชื่อมต่อโดย hypertext link จำนวนมาก
คำนี้ใช้ครั้งแรกโดย Ted Nelson ในการอธิบายระบบ Xanadu ของเขา

+_+ ตัวอย่าง รูปเล่มโครงงานคอมพิวเตอร์ : ให้นักเรียนศึกษา +_+


วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

0_0 โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา 0_0

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)


     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่างๆ





วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

*(* การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต *)*



การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต    
การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย 

ประเภทของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 
ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ประเภท คือ

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
- อุปกรณ์มีราคาถูก
- การติดตั้งง่าย
- การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิตต่อวินาที
2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
-ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
              -การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
              -ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up
3. การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
-ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
-บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
-การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
-ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
4. การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
-ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
-ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
-จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
-ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
-ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
-ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
-ค่าใช้จ่ายสูง


วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

+_+ อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ +_+

iPhone 5s


iPhone 5s คือสมาร์ทโฟนแบบ 64 บิตเครื่องแรกของโลก และ iOS 7 ก็ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ โดยสร้างมาสำหรับสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิตโดยเฉพาะ เหตุผลนี้แหละ ที่ทำให้ iOS 7 มีความล้ำหน้าไม่แพ้กับ ตัว iPhone เองเลย 
iPhone 5s ได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่น่าทึ่งมากมายภายใต้ดีไซน์ที่บางและ เบาอย่างเหลือเชื่อ และ iPhone 5s ก็สานต่อความสำเร็จนั้นด้วย Touch ID 
เซ็นเซอร์ยืนยันตัวบุคคลด้วยลายนิ้วมือ ชิพ A7 พร้อมด้วยสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิต 
กล้อง iSight ที่น่าประทับใจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และระบบไร้สายเร็วสุดแรง

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

0.0 คำศัพท์คอมพิวเตอร์ 0.0

1. Database = ฐานข้อมูล
2. CD-ROM = ตัวจัดการกับแผ่นต่างๆ
3. Compact Disc = อุปกรณ์ประเภทแผ่น
4. Mouse = เมาส์
5. Light pen = ปากกาแสง
6. Track ball = ลูกกลมควบคุม
7. Joystick = ก้านควบคุม
8. Scanner = เครื่องกราดตรวจ
9. Touch screen = จอสัมผัส
10. Control Unit = หน่วยควบคุม

11. Rom = หน่วยความจำแบบอ่าน
12. Diskette = แผ่นบันทึก
13. Harddisk = ฮาร์ดดิสก์
14. Magnetic Tape = เทปแม่เหล็ก
15. Monitor = จอภาพ
16. Printer = เครื่องพิมพ์
17. Laser printer = เครื่องพิมพ์เลเซอร์
18. Line printer = เครื่องพิมพ์รายบรรทัด
19. Speaker = ลำโพง
20. Microsoft Word = โปรแกรมเวิร์ด

21. Microsoft Excel = โปรแกรมเอกเซล
22. Microsoft PowerPoint = โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์
23. Desktop = โปรแกรมเดสทอป
24. E-mail = จดหมาย
25. Chat = การสื่อสารผ่านเครือข่าย
26. Web cam = กล้องสำหรับติดต่อ
27. Modem = เครื่องแปลสัญญาณ
28. Wireless Card = การ์ดเครือข่ายไรสาย
29. Icon = สัญลักษณ์
30. Desktop = พื้นหลังของหน้าจอ

31. Task bar = แถบงาน
32. Stand By = สแตนด์บาย
33. Turn Off = ปิดเครื่อง
34. Restart = รีสตาร์ท
35. Data = ขอมูล
36. Source = แหล่งกำเนิดข่าวสาร
37. Sink = จุดหมายปลายทางของสาร 
38. Medium Data = สื่อกลางนำข้อมูล
39. Protocol = โปรโตคอล
40. Copy = คัดลอก

41. Delete = ลบข้อมูล
42. Open = เปิดเอกสาร
43. File = ที่เก็บเอกสาร
44. Minimize = ย่อขนาดเล็กสุด
45. Maximize = ขยายใหญ่สุด
46. Task = งานหนัก
47. Scheme = แผนผัง
48. Symbol = เครื่องหมาย
49. GPS = สัญญาณแผนที่บนโลก
50. Password = รหัสผ่าน

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

+=+ การใช้ Application เพื่อการศึกษา +=+

App: iknowledge (ความรู้รอบตัว)



สนุกกับความรู้รอบตัว เพิ่มความรู้ ทายเล่นกับเพื่อน ๆ 
- ค้นหาคำถามได้
- เขย่าเครื่องเพื่อสุ่มคำถาม
- share คำถามให้เพื่อนผ่าน facebook, twitter, email

*)(* ภัยอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต *)(*

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

"_" อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ "_"


RAM (แรม) ย่อมาจาก Random Access Memory

RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วในการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ เพื่อส่งไปให้ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลตามต้องการ ก่อนจะแสดงผลการประมวลที่ได้ออกมาทางหน้าจอแสดงผล (Monitor) นั่นเอง
RAM จะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ RAM นั้น จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล

Hard Disk

Hard Disk  คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk

Microprocessor



Microprocessor คือ ตัวผลประมวลใน microchip บางครั้งเรียกว่า logic chip ซึ่ง ไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นเสมือนเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ ซึ่งใช้พื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า register การทำงานของ ไมโครโพรเซสเซอร์ แบบดั้งเดิมใช้สำหรับการบวก ลบ การเปรียบเทียบค่า และการนำข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น การทำงานเหล่านี้เป็นผลจากกลุ่มของคำสั่ง (instruction) ที่เป็นส่วนของการออกแบบ ไมโครโพรเซสเซอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบให้ไปดึงคำสั่งแรกจาก BIOS หลังจากนั้น BIOS จะได้รับนำมาอยู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลคำสั่ง รวมถึงการเรียกโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ

*+* ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนันสนุนการตัดสินใจ *+*


1.ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนันสนุนการตัดสินใจ มี 2 ประเภท คือ


1) ระบบมีที่สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล (EIS: Executive Information Systems)
เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุน สารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือ สามารถกล่าวได้ว่าระบบนี้คือส่วนหนึ่งของ DSS ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริการแก่ผู้บริหาร





2) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS:Group Decision Support System)
เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์






2. ความแตกต่างระหว่าง EIS และ GDSS

GDSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

*()* ตัวอย่างการใช้งาน DSS *()*

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับการบริหารการจัดส่งสินค้า

บริษัทซาน ไมเกล (San Miguel Corporation) ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารการส่งสินค้า (Production Load Allocation) เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่นๆ โดยส่งไปทั่วหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งและปริมาณต่ำสุดในการส่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ระบบนี้ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี


]


วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

+*+ ใบงานที่ 1 +*+


กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

การซื้อสินค้าออนไลน์
1.) เลือกสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ โดยคลิกเข้าไปในตัวสินค้าที่ต้องการ จากนั้นให้
หยิบใส่ตระกร้า โดยจะมีเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ คลิ๊กที่  สั่งซื้อสินค้า
2.) จากนั้นกรอกชื่อที่อยู่ เบอร์โทร แล้วกด ยืนยันการสั่งซื้อ คลิ๊ก หยิบใส่ตระกร้าสินค้า
3.) หลักจากที่กรอกรายละเอียด จำนวนสินค้าครบแล้ว ในรายการสินค้า สามารถเพิ่ม-ลบจำนวนสินค้าได้นะค่ะ เมื่อแก้ไขรายการเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมคลิ๊กที่ปุ่มอัพเดตตะกร้าสินค้า      จากนั้นคลิ๊กยืนยันการสั่งซื้อ หรือ กลับไปซื้อต่อ
4.) โปรด จด หรือ จำรหัส หมายเลขคำสั่งซื้อ : xxxxxx วันที่สั่งซื้อ : xxxx-xx-xx
เวลา : 00:00:00 และ รหัสลูกค้า : xxxxx หรือสามารถ เข้าไปเช็คได้ที่กล่องจดหมายของคุณจะมีอีเมล์ยืนยันการสั่งซื้อส่งไปให้
5.) เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กรุณาแจ้งการชำระเงินผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์
08xxxxxxxx
6.) จากนั้นรอรับสินค้าได้เลย โดยทางร้านจะส่งวันที่ส่งสินค้า (หลังจากทางร้านเตรวจสอบยอดชำระเงินแล้ว) ภายใน 3-5 วัน



ประเภทของระบบสารสนเทศ


1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ    
(Management Information System : MIS)

                คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ
 ลักษณะเด่นของ MIS1  จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
2  จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น   




2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
 
(Decision Support System : DSS)
             คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
 ลักษณะเด่นของ DSS1 จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ                                                                                               
2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง                
3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                        
4 มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ


วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

+++ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) +++


ความหมาย :
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ


Meaning :

Decision Support System (DSS) is a computer-based information system that supports business or organizational decision-making activities. DSSs serve the management, operations, and planning levels of an organization (usually mid and higher management) and help to make decisions, which may be rapidly changing and not easily specified in advance (Unstructured and Semi-Structured decision problems). Decision support systems can be either fully computerized, human or a combination of both.